top of page
Writer's pictureAnantaya Pornwichianwong

การแพทย์ยุคใหม่ ปลอดภัยกว่าเดิม ด้วย Computer Vision



เทคโนโลยี Computer Vision ประเภทต่าง ๆ ล้วนมีความสามารถแตกต่างกันไป แต่หลัก ๆ แล้วจะเน้นไปที่การทำงานเป็นเสมือนตาที่รับรู้และวิเคราะห์ข้อมูลจากภาพหรือวิดีโอได้ แต่สามารถตรวจจับได้ละเอียดกว่าสายตาของมนุษย์เราหลายเท่า


ความสามารถดังกล่าวเอื้อประโยชน์ให้หลากหลายอุตสาหกรรม รวมถึงการแพทย์และสาธารณสุข ที่เป็นอุตสาหกรรมที่ส่งผลมากต่อความเป็นอยู่ของเรา และการนำโซลูชัน Computer Vision มาประยุกต์ใช้ในการแพทย์ยุคใหม่ ก็เป็นทางออกที่จะขับเคลื่อนอนาคตที่ทำให้การแพทย์ปลอดภัยและเข้าถึงได้มากขึ้น เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิมของทุกคน


ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจบทบาทของโซลูชัน Computer Vision ต่อการแพทย์และสาธารณสุขที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของเรา



การแพทย์ยุคใหม่กับ Computer Vision


ด้วยความสามารถของเทคโนโลยี Computer Vision โดยเฉพาะประเภท Video Analytics การนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ทางการแพทย์นั้นสามารถยกระดับประสิทธิภาพของการทำงานต่าง ๆ ที่ต้องอาศัยความแม่นยำและรอบคอบ เช่น การใช้ Video Analytics คอยดูแลคนไข้แบบเรียลไทม์ 24 ชั่วโมง เพื่อให้สามารถแจ้งเตือนได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน การเพิ่มขีดความสามารถในการรักษาทางไกลโดยใช้ Video Analytics เป็นเครื่องมือให้แพทย์สามารถทำการรักษาได้แม้ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เดียวกับคนไข้ รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยี Computer Vision ในการช่วยวินิจฉัยโรค ซึ่งเป็นความหวังของการแพทย์ในอนาคตที่จะเพิ่มอัตราความสำเร็จในการรักษาได้


ซึ่งโซลูชันเหล่านี้ นอกจากจะช่วยเพิ่มคุณภาพและความแม่นยำในการรักษา ทำให้คนไข้ได้รับการดูแลที่ดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการช่วยลดต้นทุนและเวลาของบุคลากรจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วย รวมถึงลดต้นทุนจากความผิดพลาดได้มหาศาล


ตัวอย่างการใช้ Computer Vision ทางการแพทย์


  • ดูแลคนไข้ที่พักฟื้นที่บ้าน


ในช่วงของการฟื้นฟูร่างกายและการทำกายภาพ การดูแลคนไข้อย่างใกล้ชิดถือเป็นเรื่องสำคัญมาก แต่คนไข้บางส่วนก็ต้องการใช้เวลาฟื้นตัวที่บ้านมากกว่าที่โรงพยาบาล ดังนั้นเทคโนโลยี Computer Vision ประเภท Video Analytics จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนไข้สามารถฟื้นตัวที่บ้านในแบบที่ได้รับการดูแลเสมือนอยู่ที่โรงพยาบาล โดยแพทย์สามารถดูแลรักษา และติดตามพัฒนาการในการฟื้นตัวของคนใกล้อย่างใกล้ชิด โดยดูภาพการเคลื่อนไหวของคนไข้ผ่านระบบ Video Analytics และทำ Timed Up and Go Test (TUG) เพื่อประเมินความสามารถในการเดินและการเสี่ยงหกล้มแบบทางไกล นอกจากนี้ยังสามารถใช้โซลูชัน Fall Detection ตรวจจับอุบัติเหตุหรือการหกล้มเพื่อคอยดูแลและแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้ ซึ่งนอกจากจะดูแลได้ทั่วถึงกว่า การใช้ Video Analytics ยังเป็นแนวทางที่ช่วยให้เราสามารถดูแลคนไข้ได้โดยไม่ต้องมีคนดูแลตามติด ทำให้ไม่รุกล้ำความเป็นส่วนตัวและทำให้คนไข้ไม่รู้สึกกดดันและอึดอัดจนเกินไป


  • รักษาทางไกล (Telehealthcare)


การรักษาทางไกลอย่างมีประสิทธิภาพเป็นเรื่องที่จำเป็นในโลกที่ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาคุณภาพได้อย่างเท่าเทียม ซึ่งเทคโนโลยี Computer Vision ประเภท Video Analytics มีส่วนช่วยให้นวัตกรรมนี้เกิดขึ้นจริง โดยแพทย์จากโรงพยาบาลชั้นนำสามารถใช้เทคโนโลยี Video Analytics กับฟุตเทจวิดีโอของคนไข้ เพื่อวิเคราะห์และวินิจฉัยโรคของคนไข้ทางไกล อำนวยความสะดวกให้คนไข้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลให้เข้าถึงการรักษาคุณภาพได้ และที่สำคัญการรักษาทางไกลยังมีประโยชน์มากในกรณีฉุกเฉิน ที่ให้แพทย์ทำการรักษาได้โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วย


  • ตรวจจับโรคร้ายแรงในระยะเริ่มต้น


โรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง หรือเนื้องอกในสมอง เป็นโรคที่สามารถลุกลามได้อย่างรวดเร็ว หากสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ก็จะทำให้คนไข้มีโอกาสที่จะรักษาหายและฟื้นฟูตัวเองได้มากกว่า ซึ่งเทคโนโลยี Computer Vision สามารถเป็นตัวช่วยในการช่วยตรวจวินิจฉัยโรคเหล่านี้ในระยะเริ่มต้น ที่บางครั้งแพทย์ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ โดยเราสามารถเทรนโมเดล Computer Vision ด้วยข้อมูลภาพเอกซเรย์ CT MRI หรืออัลตร้าซาวด์จำนวนมหาศาลของผู้ที่ป่วยด้วยโรคดังกล่าว เพื่อให้โมเดลเรียนรู้ความแตกต่างของลักษณะภาพเอกซเรย์ที่สื่อถึงโรค และเรียนรู้รูปแบบสัญญาณของโรคที่แม้จะเล็กมาก ๆ ได้ เพื่อเป็นตัวช่วยวิเคราะห์ภาพเอกซเรย์ ให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคเหล่านี้ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น รวมถึงช่วยลดเวลาและภาระงานของแพทย์ได้อีกด้วย


  • ออกแบบการรักษาแบบรายบุคคล


หนึ่งนวัตกรรมทางการแพทย์ที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ได้แก่ การออกแบบการรักษาแบบรายบุคคล (Personalized Treatments) โดยเทคโนโลยี Computer Vision มีส่วนช่วยเป็นหลักในการวิเคราะห์ภาพ CT MRI และภาพเอกซเรย์อื่น ๆ ของคนไข้ เพื่อวิเคราะห์สุขภาพและโรคประจำตัวของคนไข้ เพื่อออกแบบการรักษาและจ่ายยาแบบ Personalized รวมถึงยังสามารถใช้เทคโนโลยี Computer Vision ประเภท Face Recognition ระบุตัวตนคนไข้ที่เข้ามาทำการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อตรวจสอบประวัติและแนวทางการรักษาอย่างรวดเร็ว ช่วยให้ขั้นตอนการลงทะเบียนสะดวกขึ้น และป้องกันความผิดพลาดในการระบุตัวตนได้


  • เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายในโรงพยาบาล


เราสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Video Analytics ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายในโรงพยาบาลได้ ตั้งแต่การให้เอไอคอยติดตามจำนวนเตียงว่างในวอร์ด โดยเฉพาะในห้องฉุกเฉิน และแจ้งเตือนเมื่อเตียงใกล้เต็ม เพื่อประสานงานกับวอร์ดอื่น ๆ เพื่อหาทางออก เช่น เคลื่อนย้ายผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยทุกคนได้รับการดูแลที่ทั่วถึง ตรวจสอบตำแหน่งของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อาจขัดขวางการทำงาน เช่น รถเข็นหรือเตียงที่วางขวางตามทางเดิน เพื่อแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ให้ทำการเคลื่อนย้าย ไม่กีดขวางการทำงานในวอร์ดที่ต้องอาศัยความรวดเร็ว รวมไปถึงตรวจจับความหนาแน่นของผู้ที่มาใช้บริการภายในโรงพยาบาล ด้วยโซลูชัน People Density Counting เพื่อจัดสรรพื้นที่และบุคลากรในโรงพยาบาลเพื่อให้รองรับผู้มาใช้บริการ ควบคุมจำนวนผู้มาใช้บริการในแต่ละช่วงเวลาให้อยู่ในจำนวนที่เหมาะสม และวางแผนการทำความสะอาดในจุดที่มีผู้ใช้บริการเยอะเพื่อให้สามารถรักษาสุขอนามัยได้


นอกจากนี้เรายังสามารถอำนวยความสะดวกให้ผู้ที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลด้วยการนำเทคโนโลยี Face Recognition เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลในโรงพยาบาล มาใช้ระบุตัวตนคนไข้ผ่านการตรวจจับและรู้จำใบหน้า เพื่อให้กระบวนการลงทะเบียนทำได้รวดเร็วขึ้น ข้ามขั้นตอนการกรอกเอกสาร ทำให้คนไข้ได้รับบริการที่รวดเร็วและน่าประทับใจมากยิ่งขึ้น




ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยี Computer Vision กับการแพทย์


  1. เพิ่มความรวดเร็วในการรักษาและการตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยเทคโนโลยี Computer Vision ประเภท Video Analytics จะช่วยให้โรงพยาบาลสามารถติดตามคนไข้ได้แบบเรียลไทม์ และได้รับการแจ้งเตือนอย่างทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

  2. เพิ่มความแม่นยำในการรักษา การนำเทคโนโลยี Computer Vision มาเสริมกำลังในการวินิจฉัยโรค ช่วยให้แพทย์สามารถตรวจจับสัญญาณของโรคที่เคยมองข้ามไป ทำให้สามารถวินิจฉัยได้แม่นยำ และออกแบบแนวทางการรักษาได้ในรูปแบบ Personalized ช่วยให้การรักษาได้ผลดีมากยิ่งขึ้น

  3. แก้ไขปัญหาในการระบุตัวตนคนไข้ผิดพลาด ซึ่งปัญหาเรื่องการระบุตัวตนคนไข้ผิดพลาด หรือสลับตัวกัน เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลบ่อยกว่าที่คิด การใช้เทคโนโลยี Face Recognition ที่ช่วยระบุตัวตนจากข้อมูลทางชีวภาพนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังทำให้ขั้นตอนการลงทะเบียนสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น



ความท้าทายของการใช้ Computer Vision ในการแพทย์


ข้อมูลทางการแพทย์ไม่ว่าจะเป็น การวินิจฉัยโรค แนวทางการรักษา และข้อมูลสุขภาพของบุคคล ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อนมาก ทำให้ความท้าทายหลักที่มาคู่กับการใช้โซลูชัน Computer Vision ทางการแพทย์คือเรื่องของความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลนั่นเอง

ดังนั้นการสร้างโซลูชัน Computer Vision ที่ปลอดภัย รัดกุม และไม่มีช่องโหว่ที่ทำให้รั่วไหล คือประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบ โดยเริ่มตั้งแต่การมีโครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัย มีการเข้ารหัสอย่างรัดกุม ใช้เซิร์ฟเวอร์ส่วนตัว หรือ Private Cloud มีการยืนยันตัวตน รวมถึงมีความโปร่งใส สามารถควบคุมดูแลได้ง่าย


การจะออกแบบโซลูชัน Computer Vision ที่ทั้งมีคุณสมบัติที่เหมาะสม ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยสูงสุด ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการร่วมออกแบบ เพื่อให้ได้โซลูชันที่เหมาะสมที่สุด ที่เซอร์ทิสมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้บริการ ช่วยยกระดับการแพทย์ด้วยโซลูชัน Computer Vision ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับแต่ละโรงพยาบาลและหน่วยงาน จึงสามารถทำงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีโครงสร้างที่แน่นหนาและปลอดภัย เป็นโซลูชันที่คุ้มค่าและสามารถสร้างประโยชน์ทางการแพทย์ได้อย่างแท้จริง


เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชัน Computer Vision เพื่อการแพทย์จากเซอร์ทิสได้ที่: https://www.sertiscorp.com/ai-security



bottom of page